ชื่อ กระถิน
ชื่อพื้นเมือง กะเส็ดโคก กะเส็ดบก ตอเขา สะตอเขา สะตอเทศ ผักก้านถิน ผักหนองบก กระถินไทย กระถินบ้าน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Leucaena glauca Benth.
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่อสามัญ LEGUMINOSAE
สรรพคุณ ดอก รสมัน บำรุงตับ แก้เกล็ดกระดี่ขึ้นตา ราก รสเจื่อน ขับลม ขับระดูขาว เป็นยาอายุวัฒนะ เมล็ด ใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม (ascariasis)
ลักษณะ ต้นกระถิน และมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาเขตร้อนและในหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิค มีการนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย เนื่องจากต้นกระถินเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ได้ง่ายจึงพบได้ทั่วไป[3],[8] จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก มีขนาดความสูงประมาณ 3-10 เมตร ไม่ผลัดใบ ลักษณะทรงต้นเป็นเรือนยอดรูปไข่หรือกลม เปลือกต้นมีสีเทา และมีปุ่มนูนของรอยกิ่งก้านที่หลุดร่วงไป และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยหรือในดินเหนียวอุ้มน้ำได้ดี ใบกระถิน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับกัน ยาวประมาณ 12.5-25 เซนติเมตร แกนกลางใบประกอบมีขน ใบแยกแขนงประมาณ 3-19 คู่ เรียงตรงข้ามกัน มีความยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร ส่วนใบย่อยมีประมาณ 5-20 คู่ เรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน มีความกว้างประมาณ 2-5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 0.6-2.1 เซนติเมตร โคนใบเบี้ยว ปลายใบแหลม ขอบใบมีขน แต่ละใบมีเส้นแขนงอยู่ประมาณข้างละ 5-6 เส้น ส่วนก้านใบย่อยมีความยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ดอกกระถิน ดอกมีสีขาว ออกดอกเป็นช่อแบบกระจุดแน่นตามง่ามใบและปลายกิ่ง ประมาณ 1-3 ช่อ กลีบเลี้ยงโคนติดกันลักษณะเป็นรูประฆัง ส่วนปลายแยกเป็นสามเหลี่ยมเล็ก 5 แฉก มีขน ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 10 อัน เมื่อดอกบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร โดยจะออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน ฝักกระถิน ฝักมีลักษณะแบน ปลายฝักแหลม โคนสอบ ฝักเมื่อแก่จะแตกตามยาว ฝักยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ในฝักมีเมล็ดเรียงตามขวางอยู่ประมาณ 15-30 เมล็ด และจะออกผลในช่วงเดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนมกราคม เมล็ดกระถิน เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่แบนกว้าง มีสีน้ำตาลและเป็นมัน
ประโยชน์ ยอดอ่อน ดอกอ่อน ฝักอ่อน และเมล็ดสดรับประทานเป็นเครื่องเคียง เนื้อไม้ใช้ทำกระดาษ ใบและเมล็ดเป็นยารักษาเบาหวาน ความดันโลหิตสูง แก้ท้องร่วง ใบแก่ตากให้แห้งใช้ผสมเป็นอาหารสัตว์ให้โปรตีนสูง
รูปภาพ
×
×
Qr Code และ Gr Code

หากคุณยังไม่มี App เหล่านี้สามารถดาวน์โหลด App ได้จากด้านล่างนี้

ดาวน์โหลด : เครื่องอ่านรหัส QR
ดาวน์โหลด : GR Code Reader
ดาวน์โหลด : VAJA สังเคราะห์เสียงไทย (วาจา)
ตำแหน่งของพรรณไม้ 20.079540,100.307147

Result Comments

Comments