ชื่อ ขนุน
ชื่อพื้นเมือง ขะหนุน , ขะเนอ , ปะหน่อง , มะหนุน , หมักหมี่ , จ้าง , นากง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus heterophyllus Lam.
ชื่อวงศ์ MORACEAE
ชื่อสามัญ MORACEAE
สรรพคุณ มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย อาทิ วิตามินเอ วิตามินซี ไทอามีน ไนอาซิน แคลเซียม โพแทสเซียม เหล็ก สังกะสี โซเดียม และมีวิตามินบีรวมซึ่งเป็นแร่ธาตุที่มีอยู่ในผลไม้ไม่กี่ชนิด นอกจากนี้ก็มีส่วนประกอบของไฟโตนิวเทรียนต์ซึ่งมีความสามารถในการต่อต้านมะเร็งและช่วยลดความดันโลหิต แถมยังมีเกลือแร่ ไฟเบอร์ และโปรตีนสูง แต่มีไขมันและคอเลสเตอรอลน้อย พลังงานต่ำ และมีคุณสมบัติช่วยต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัสที่ทำลายภูมิคุ้มกันให้อ่อนแอ
ลักษณะ ต้นขนุน เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูงประมาณ 15-30 เมตร กิ่งและลำต้นเมื่อมีแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นไหลออกมา ลักษณะของใบขนุน เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบเป็นรูปรี ปลายใบทู่ถึงแหลม โคนใบมน ใบหนา ผิวด้านบนของใบจะมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนผิวใบด้านล่างจะสากมือ ใบขนุนกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ดอกขนุน ออกเป็นช่อเชิงสดแยกเพศอยู่รวมกัน เป็นช่อสีเขียว อัดกันแน่นและอยู่บนต้นเดียวกัน โดยดอกเพศผู้จะออกตามปลายกิ่งหรือซอกใบ ซึ่งเราจะเรียกว่า “ส่า” ส่วนดอกเพศเมียจะออกตามกิ่งใหญ่และลำต้น เมื่อติดผลดอกทั้งช่อจะเจริญร่วมกันเป็นผลรวมมีขนาดใหญ่ โดย 1 ดอกจะกลายเป็น 1 ยวง ผลขนุน หรือ ลูกขนุน ลักษณะภายนอกจะคล้าย ๆ จำปาดะ (ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกัน) โดยลักษณะของลูกขนุน ในผลดิบเปลือกมีสีขาว หนามทู่ ถ้ากรีดจะมียางเหนียว ถ้าแก่เปลือกจะมีสีน้ำตาลอ่อนอมเหลืองและหนามจะป้านขึ้นด้วย ภายในผลของขนุนจะมีซังขนุนหุ้มยวงสีเหลองไว้ โดยเมล็ดจะอยู่ในยวง โดยดอกขนุนจะออกดอกปีละ 2 ครั้ง คือในช่วงเมษายน-พฤษภาคม และในช่วงธันวาคม-มกราคม
ประโยชน์ ใบอ่อน ผล รับประทาน เนื้อไม้ใช้ทำพื้นเรือนและสิ่งก่อสร้าง รากแก้โรคผิวหนัง แก้ท้องเสีย เปลือกต้นเป็นยาแก้ท้องเสีย แก่นสมานแผล บำรุงกำลัง บำรุงเลือด ผลสุกเป็นยาระบาย เมล็ดบำรุงน้ำนมในสตรีหลังคลอด รากและแก่นใช้เป็นสีย้อมให้ สีเลืองถึงเหลืองอมน้ำตาล
รูปภาพ
×
×
Qr Code และ Gr Code

หากคุณยังไม่มี App เหล่านี้สามารถดาวน์โหลด App ได้จากด้านล่างนี้

ดาวน์โหลด : เครื่องอ่านรหัส QR
ดาวน์โหลด : GR Code Reader
ดาวน์โหลด : VAJA สังเคราะห์เสียงไทย (วาจา)
ตำแหน่งของพรรณไม้ 20.081454,100.308552

Result Comments

Comments