ชื่อ กระถินณรงค์
ชื่อพื้นเมือง กระถินณรงค์
ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia auriculiformis A. Cunn. ex Benth.
ชื่อวงศ์ Fabaceae
ชื่อสามัญ Fabaceae
สรรพคุณ -
ลักษณะ ราก และลำต้น กระถินณรงค์ เป็นไม้ขนาดกลาง มีลำต้นสูงประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นทรงกลม ตั้งตรง แต่หากพื้นที่แห้งเลี้ยงมาก ลำต้นจะไม่สมมาตร เปลือกของต้นอายุน้อยมีสีเทา ผิวขรุขระ เมื่อต้นเจริญเต็มที่ เปลือกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ผิวเป็นร่องแตกสะเก็ด แตกกิ่งก้านมาก และหนาแน่นมากบริเวณเรือนยอด สามารถแตกกิ่งได้ในระดับล่างของลำต้น กิ่งอ่อนมีสีเขียว กิ่งแก่มีสีน้ำตาล เนื้อไม้กระถินณรงค์ เมื่ออายุประมาณ 3-5 ปี จะมีสีเหลืองอ่อน ยังไม่มีลวดลายปรากฏมากนัก เมื่ออายุ 5-10 ปี จะเริ่มมีีเหลืองเข้มจนถึงน้ำตาล และเริ่มมีลวดลายให้เห็นบ้าง เมื่ออายุมากกว่า 10 ปี จะมีสีน้ำตาลจนถึงเป็นสีน้ำตาลเข้ม เป็นลายด่างให้เห็นชัดเจน และหากมีอายุมากจะมีสีน้ำตาลเข้ม และมีลายดำปะปน ใบ กระถินณรงค์เป็นพืชไม่ผลัดใบ แตกใบได้ตลอดทั้งปี ต้นอ่อนแตกใบ 1-2 คู่ เป็นใบผสมขนาดเล็ก เมื่อโตขึ้นใบผสมจะร่วงหมดเกิดเป็นใบเดี่ยวแท้ แตกออกตามกิ่งเรียงสลับกัน ใบมีลักษณะเรียวยาว และโค้งเป็นรูปเคียว มีสีเขียวเข้ม ลักษณะค่อนข้างหนา ใบกว้างประมาณ 1.2-2.5 ซม. ยาวประมาณ 10-16 ซม. มองเห็นเป็นเส้นใบ 3 เส้น ขนานกันตามแนวยาวจากโคนใบจรดปลายใบ ดอก กระถินณรงค์ออกดอกเป็นช่อ ตามซอกใบ ดอกห้อยยาวคล้ายหางกระรอก มีสีเหลือง ส่งกลิ่นหอม แต่ละช่อดอกประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก 70-100 ดอก มีขนาดเล็กประมาณ 1 มิลลิเมตร ดอกออกปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ครั้งที่ 2 ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ของอีกปี ใช้เวลาจากออกดอกถึงดอกบานประมาณ 45-50 วัน ดอกที่ผสมจะกลายเป็นฝัก ส่วนดอกที่ไม่ได้ผสมจะร่วง โดยในหนึ่งช่อดอกจะมีดอกที่ผสมติดกลายเป็นฝักประมาณ 2-5 ฝัก ผล มีลักษณะเป็นฝัก ม้วนงอขยุกขยิก ฝักอ่อนจะมีสีเขียว ฝักแก่มีสีน้ำตาลเข้ม และดำตามอายุของฝัก เมื่อแก่มาก ฝักจะแตกเป็น 2 ซีก ตามแนวตะเข็บขอบฝัก แต่ละฝักมีเมล็ดประมาณ 10-15 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะกลมแบน มีรกสีเหลืองติดเมล็ด เมล็ดมีขนาดประมาณ 2.5-4.5 มิลลิเมตร สีเมล็ดออกสีน้ำตาลเข้มถึงดำ เมล็ดหนัก 1 กิโลกรัม จะมีเมล็ดประมาณ 66,600 เมล็ด
ประโยชน์ กระถินณรงค์เป็นไม้โตเร็ว นิยมปลูกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง นอกจากการใช้เป็นพืชเบิกนำในการปลูกป่าในพื้นดินเสื่อมโทรมได้ดีแล้ว ยังใช้ตัดฟันเป็นไม้ฟืนเชื้อเพลิง ซึ่งมีการวิจัยโรงไฟฟ้าชีวมวล เพื่อใช้ไม้กระถินเป็นเชื้อเพลิง และประโยชน์อื่นๆ เช่นเผาถ่าน ทำเฟอร์นิเจอร์ และเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษได้ด้วย
รูปภาพ
×
×
Qr Code และ Gr Code

หากคุณยังไม่มี App เหล่านี้สามารถดาวน์โหลด App ได้จากด้านล่างนี้

ดาวน์โหลด : เครื่องอ่านรหัส QR
ดาวน์โหลด : GR Code Reader
ดาวน์โหลด : VAJA สังเคราะห์เสียงไทย (วาจา)
ตำแหน่งของพรรณไม้ 20.081174,100.309034

Result Comments

Comments