ชื่อ ชงโค
ชื่อพื้นเมือง ชงโค (กลาง) ; เสี้ยวดอกแดง (เหนือ) ; ผักเสี้ยว (เหนือ) ; กะเฮอ , สะเซี่(กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน) ; เสี้ยวหวาน (แม่ฮ่องสอน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia purpurea L
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
ชื่อสามัญ LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
สรรพคุณ ใบ นำมาตากแดด ใช้ชงเป็นชาดื่ม นำมาขยี้ และผสมน้ำเล็กน้อยใช้ประคบรักษาแผล และช่วยในการห้ามเลือดใบอ่อนใช้เคี้ยวเพื่อลดกลิ่นปาก ดอก นำมาต้มน้ำดื่ม ช่วยลดอาการไอ ทำให้ชุ่มคอ เปลือกลำต้นนำมาต้มน้ำดื่ม ใช้รักษาอาการท้องเสีย และอาหารเป็นพิษ น้ำต้มจากเปลือกใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ราก นำมาต้มน้ำดื่ม ใช้เป็นยาขับลม น้ำต้มจากรากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
ลักษณะ ลำต้น ชงโค/เสี้ยว เป็นไม้ยืนต้นประเภทพลัดใบ มีลำต้นตั้งตรง ลำต้นสูงประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งเป็นน้อย เปลือกลำต้นมีสีเทา ผิวเปลือกขรุขระ ใบชงโค เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ แทงออกเป็นเดี่ยวสลับข้างกันบนข้อกิ่ง ใบมีสีเขียวอ่อนถึงเขียวสด ใบมีลักษณะค่อนข้างมน แผ่นใบ และขอบใบเรียบ โคนใบ และส่วนปลายจะหยักโค้งมนตรงกลาง ทำให้ใบแลดูคล้ายใบแฝดหรือคล้ายรูปไต ใบกว้างประมาณ 8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12 เซนติเมตร ใบอ่อนกางแผ่น้อยทำให้แลดูคล้ายปีกผีเสื้อ ส่วนการพลัดใบจะเริ่มพลัดใบไปเรื่อยตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม และจะเริ่มแทงยอด และใบอ่อนเมื่อเข้าสู่ต้นฤดูฝนเดือนเมษายน-พฤษภาคม หลังจากนั้น จะเริ่มแทงช่อดอกออกมาทีหลัง และเริ่มติดฝัก ดอกชงโค เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีรูปร่างคล้ายดอกกล้วยไม้ ดอกออกเป็นช่อบริเวณซอกใบที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 5-10 ดอก ดอกประกอบด้วยกลีบดอก 5 กลีบ สีม่วงอมชมพู ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย เมื่อดอกบาน ดอกจะส่งกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกสามารถออกได้ตลอดทั้งปี ผลหรือฝัก ชงโคมีลักษณะเป็นฝักคล้ายฝักถั่ว มีรูปร่างแบน ฝักมีขนปกคลุม ฝักมีขนาดกว้าง 1-2 ซม. ยาว 20-25 ซม. ฝักจะเริ่มทยอยติดตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม จนแก่ในช่วงเดือนกันยายน ฝักแก่จะมีสีน้ำตาล และเมื่อแก่จัดจะมีสีดำ
ประโยชน์ ดอก ยอดนึ่งจิ้มกับน้ำพริกหรือนำไปแกง ใบ แก้ไอ ดอกและราก ช่วยลดไข้
รูปภาพ
×
×
Qr Code และ Gr Code

หากคุณยังไม่มี App เหล่านี้สามารถดาวน์โหลด App ได้จากด้านล่างนี้

ดาวน์โหลด : เครื่องอ่านรหัส QR
ดาวน์โหลด : GR Code Reader
ดาวน์โหลด : VAJA สังเคราะห์เสียงไทย (วาจา)
ตำแหน่งของพรรณไม้ 20.079672,100.308488

Result Comments

Comments