ชื่อ ตะเคียนทอง
ชื่อพื้นเมือง ตะเคียน ตะเคียนใหญ่ (ภาคกลาง) จูเค้ โซเก (กาญจนบุรี) จะเคียน (ภาคเหนือ) แคน (ภาคอีสาน) กะกี้ โกกี้ (เชียงใหม่) ไพร (เชียงใหม่)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hopea odorata Roxb
ชื่อวงศ์ Dipterocarpaceae
ชื่อสามัญ Dipterocarpaceae
สรรพคุณ เปลือก เนื้อไม้ มีรสฝาด ใช้ฆ่าเชื้อโรค แก้อักเสบ ห้ามเลือด เปลือก รสฝาดเมา ใช้สมานแผล แก้บิดมูกเลือด แก้เหงือกอักเสบ และฆ่าเชื้อโรคในปาก แก้ลงแดง แก่น มีรสขมหวาน รักษาคุดทะราด ขับเสมหะ แก้โลหิตและกำเดา แก้ไข้สัมประชวร (ไข้ที่เกิดจากหลายสาเหตุ มักแสดงอาการที่ตา เช่น แดง เหลือง หรือขุ่นคล้ำ เป็นต้น) ยาง บดเป็นผงรักษาบาดแผล ชันใช้ผสมน้ำมันยางทาไม้ ทำน้ำมันชักเงา ยาแนวเรือ
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นตรง เปลือกลำต้นผิวเรียบ เปลือกจะแตกเป็นสะเก็ดเมื่อลำต้นโตมากขึ้น เรือนยอดแน่นทึบเป็นพุ่มกลมหรือรูปกรวย ใบเดี่ยว รูปไข่แกมรูปหอก ผิวใบเรียบเป็นมัน ดอกช่อ ประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กสีขาว รวมกันเป็นช่อโต มีกลิ่นหอม ผล เป็นรูปกระสวยเล็ก ๆมีปีกยาว 2 ปีก สั้น 3 ปีก ชอบขึ้นในที่ราบลุ่มและชุ่มชื้นเช่นตามชายคลอง หนองบึง
ประโยชน์ เนื้อไม้แข็งใช้สร้างบ้านเรือน เครื่องเรือน เปลือกต้นแก้ปวดฟัน แก้เหงือกบวม เนื้อไม้ แก้ท้องร่วง แก่นแก้ท้องร่วง แก้บิด ยางรักษาบาดแผล แก้ท้องเสีย เปลือกใช้ฟอกหนัง
รูปภาพ
×
×
Qr Code และ Gr Code

หากคุณยังไม่มี App เหล่านี้สามารถดาวน์โหลด App ได้จากด้านล่างนี้

ดาวน์โหลด : เครื่องอ่านรหัส QR
ดาวน์โหลด : GR Code Reader
ดาวน์โหลด : VAJA สังเคราะห์เสียงไทย (วาจา)
ตำแหน่งของพรรณไม้ 20.080356,100.308954

Result Comments

Comments