ชื่อ ติ้วขน
ชื่อพื้นเมือง ติ้วแดง ติ้วยาง ติ้วเลือด(ภาคเหนือ) ติ้วเหลือง(ภาคกลาง) แต้วหิน(ลำปาง)ตาว(สตูล) กวยโซง(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) กุญฉ่องเซ้า(กะเหรี่ยง-ลำปาง) เน็กเครแย่(ละว้า-เชียงใหม่) ราเง้ง(เขมร-สุรินทร์)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cratoxylum formosum Dyer subsp, Pruniflorum Gogel
ชื่อวงศ์ GUTTIFERAE
ชื่อสามัญ GUTTIFERAE
สรรพคุณ ราก แก้อาการปวดท้อง แก้อาการปัสสาวะ กิ่ง ทำลายเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว ใบ รักษามะเร็งตับ แก้อาการปวดตามข้อ แก้ไขข้อพิการ บำรุงโลหิต ฟอกโลหิต แก้อาการปวดท้อง ดอก ป้องกันการเกิดโรคกระดูกบาง บำรุงโลหิต ฟอกโลหิต ยอดอ่อน ป้องกันการเกิดโรคกระดูกบาง บำรุงโลหิต ฟอกโลหิต ช่วยขับลม เปลือกต้น แก้ธาตุพิการ รักษาโรคผิวหนัง
ลักษณะ ติ้วขนเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็ก ที่มีความสูง 8-15 เมตร เปลือกลำต้นสีเทา เปลือกชั้นในสีน้ำตาลแกมเหลือง และมีน้ำยางสีเหลืองปนแดง มีรอยแตกเป็นสะเก็ดๆ โคนต้นมีหนาม ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันรูปทรงรี หรือรูปไข่ มีความกว้าง 2-5 ซม. ความยาว 3-13 ซม. ปลายใบแหลม โคนสอบเรียว ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 5-15 มม. ดอกมีสีชมพูอ่อนถึงสีแดง กลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ง่ามกิ่ง หรือตามลำต้น มีดอกช่อละ 1-6 ดอก ก้านดอกความยาว 3 -10 มม. กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ มีขนด้านนอก กลีบดอกมีสีขาว สีชมพูอ่อนถึงชมพูแก่ จำนวน 5 กลีบ เกสรเพศผู้ติดกันเป็นกลุ่ม อับเรณูมีต่อมที่ปลาย ก้านเกสรเพศเมียมี 3 อัน ผลมีรูปทรงรี กว้าง 4-6 มม. ยาว 10-16 มม. เมื่อแก่จัดแตกเป็น 3 แฉก เมล็ดมีสีน้ำตาล
ประโยชน์ ยอดอ่อน ใบอ่อน และอกรับประทานเป็นผัก ไม้ทำเสา ใบและยอดอ่อนกินสดเป็นยาระบาย รากรักษาอาการตกขาว รากและใบต้มกินแก้ปวดท้อง เปลือกและใบตำผสมกับน้ำมะพร้าวทาแก้โรคผิวหนัง น้ำยางจากลำต้นทารักษาแผลส้นเท้าแตก ไม้ใช้ทำฟืนและถ่านมีคุณภาพดี เปลือกให้สีน้ำตาลเข้มใช้ย้อมผ้า
รูปภาพ
×
×
Qr Code และ Gr Code

หากคุณยังไม่มี App เหล่านี้สามารถดาวน์โหลด App ได้จากด้านล่างนี้

ดาวน์โหลด : เครื่องอ่านรหัส QR
ดาวน์โหลด : GR Code Reader
ดาวน์โหลด : VAJA สังเคราะห์เสียงไทย (วาจา)
ตำแหน่งของพรรณไม้ 20.080372,100.308881

Result Comments

Comments