ชื่อ ประดู่ป่า
ชื่อพื้นเมือง ประดู่กิ่งอ่อน สะโน อังสนา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus indicus Willd
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE
ชื่อสามัญ LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE
สรรพคุณ ราก ต้มน้ำดื่มรักษาโรคบิด(คนเมือง) เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้อาการท้องเสีย เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน เนื้อไม้ ใช้ทำโครงสร้างต่างๆ ของบ้าน เช่น เสาบ้าน ไม้กระดาน เปลือกต้น ต้มน้ำเดือดใช้ย้อมผ้า ให้สีน้ำตาล เปลือกไม้ ต้มแล้วนำน้ำที่ได้ใช้ย้อมผ้า ให้สีน้ำตาลแดง
ลักษณะ ประดู่ป่า เป็นไม้ต้นสูง 15-30 เมตร ใบประดู่ป่า เป็นใบประกอบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยมี3-13 คู่เรียงสลับ แนใบรูปไข่ หรือขอบขนาน โคนใบรูปลิ่มถึงกลม ปลายใบแหลม หรือเป็นติ่งแหลม ดอกประดู่ป่า ช่อดอกแบบช่อกระจะแยกแขนง ออกตามชอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงรูประฆังปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกรูปถั่ว เกสรเพศผู้ 10 อัน ผลประดู่ป่า เป็นฝักแบนคล้ายโล่ มีปีกเป็ฯแผ่นกลม เมล็ด 1-2 เมล็ด รูปทรงรี
ประโยชน์ ไม้ใช้ทำเครื่องเรือน ของประดับตกแต่งบ้าน เครื่องใช้สอย ก่อสร้างทุกชนิด รากแก้ไข้ เปลือกแก้โรคปากเปื่อย แก้ท้องเสีย แก้โรคบิด เนื้อไม้บำรุงธาตุ บำรุงโลหิต แก่นบำรุงโลหิต ใบพอกฝี พอกแผล แก้ผดผื่นคัน ดอกพอกแผล แก้ผดผื่นคัน ยางแก้ท้องเสีย แก้โรคปากเปื่อย แก่นและเปลือกให้สีแดงใช้ย้อมผ้า
รูปภาพ
×
×
Qr Code และ Gr Code

หากคุณยังไม่มี App เหล่านี้สามารถดาวน์โหลด App ได้จากด้านล่างนี้

ดาวน์โหลด : เครื่องอ่านรหัส QR
ดาวน์โหลด : GR Code Reader
ดาวน์โหลด : VAJA สังเคราะห์เสียงไทย (วาจา)
ตำแหน่งของพรรณไม้ 20.080587,100.308943

Result Comments

Comments