ชื่อ กระท้อน
ชื่อพื้นเมือง เตียน ล่อน สะท้อน (ภาคใต้) มะต้อง (ภาคเหนือ,อุดรธานี) มะติ๋น (ภาคเหนือ) สตียา สะตู (มาเลย์-นราธิวาส) สะโต (มาเลย์-ปัตตานี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sandoricum koetjape ( Burm. f.) Merr.
ชื่อวงศ์ Meliaceae
ชื่อสามัญ Meliaceae
สรรพคุณ สร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันฟันผุ ลดระดับคอเลสเตอรอล แก้ท้องเสีย อุดมด้วยวิตามิน ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ ตัวช่วยลดน้ำหนักรักษาโรคผิวหนัง
ลักษณะ ต้นกระท้อน เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดแถวอินโดจีนและมาเลเซียตะวันตก ก่อนจะแพร่ขยายไปในอินเดีย อินโดนีเซีย มอริเชียส และฟิลิปปินส์จนกลายเป็นพืชท้องถิ่นไป โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 15-30 เมตร เปลือกต้นเป็นสีเทา ใบกระท้อน ลักษณะของใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยมี 3 ใบ คล้ายรูปรีแกมไข่ เมื่อใบแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง โดยความกว้างของใบประมาณ 6-15 เซนติเมตร และยาว 8-20 เซนติเมตร ดอกกระท้อน ลักษณะของดอกกระท้อน กลีบดอกเป็นสีเหลืองนวล ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบปลายกิ่ง และมีดอกย่อยจำนวนมาก ผลกระท้อน รูปทรงกลมแป้น ผิวมีขนคล้ายกำมะหยี่อ่อนนุ่ม ผลอ่อนจะมีสีเขียวมีน้ำยางสีขาว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและมีน้ำยางที่น้อยลง ผลกระท้อน มีขนาดประมาณ 5-15 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ด 4-5 เมล็ดและมีปุยสีขาว ๆหุ้มเมล็ดอยู่ และเมล็ดมีรูปรีมีปลอกเหนียวห่อหุ้มอยู่
ประโยชน์ ผลประกอบอาหาร ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้ ช่วยให้ระบาย เนื้อไม้ทำกระดานดำและเครื่องเขิน รากแก้ท้องร่วง แก้บิดมูกเลือด ต้มดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง แก้หวัด เปลือกต้นสมานแผล ขับเหงื่อ ต้มอาบรักษาโรคผิวหนัง หรือต้มดื่มแก้ท้องเสีย ใบขับเหงื่อ ต้มอาบรักษาโรคผิวหนัง
รูปภาพ
×
×
Qr Code และ Gr Code

หากคุณยังไม่มี App เหล่านี้สามารถดาวน์โหลด App ได้จากด้านล่างนี้

ดาวน์โหลด : เครื่องอ่านรหัส QR
ดาวน์โหลด : GR Code Reader
ดาวน์โหลด : VAJA สังเคราะห์เสียงไทย (วาจา)
ตำแหน่งของพรรณไม้ 20.081174,100.309038

Result Comments

ความคิดเห็น ผลไม้นี้ดีมากคับชอบกินมาก.......
นายจีรศักดิ์   มณีโชติ
Thu : 12 : 16

Comments