ชื่อ พะยูง
ชื่อพื้นเมือง ขะยุง (อุบลราชธานี), แดงจีน (ปราจีนบุรี), ประดู่ตม, ประดู่น้ำ (จันทบุรี), พะยูงไหม (สะบุรี), ประดู่ลาย (ชลบุรี), ประดู่เสน (ตราด), กระยง, กระยุง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dalbergia cochinchinensis Pierra
ชื่อวงศ์ Papilionaceae
ชื่อสามัญ Papilionaceae
สรรพคุณ ตำรับยาพื้นบ้านอีสานจะใช้เปลือกต้นหรือแก่นพะยูง นำมาผสมกับแก่นสนสามใบ แก่นขี้เหล็ก และแก่นแสมสาร ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้มะเร็ง (เปลือกต้น,แก่น) รากใช้กินเป็นยารักษาอาการไข้พิษเซื่องซึม (ราก) เปลือกนำมาต้มเอาแต่น้ำ ใช้เป็นยาอมรักษาโรคปากเปื่อย ปากแตกระแหง (เปลือก) ยางสดใช้เป็นยาทาปาก รักษาโรคปากเปื่อย (ยางสด) ยางสดใช้ทาแก้เท้าเปื่อย (ยางสด)
ลักษณะ ลักษณะเนื้อไม้ เนื้อละเอียด เสี้ยนสนเป็นริ้วแคบ ๆ เหนียว แข็งทนทาน หนักมาก สีน้ำตาลอ่อนแกนสีแดงอมม่วง หรือสีม่วงกึ่งสีเลือดหมูแก่ เป็นมันเลื่อม และมีริ้วสีดำหรือสีน้ำตาลอ่อนผ่าน เลื่อยผา ไสกบ ตบแต่งยาก ขัดและชักเงาได้ดีมีน้ำมันในตัว ใบ เป็นใบประกอบ ออกเป็นช่อแบบขนนก ช่อติดเรียงสลับ ยาว 10-15 ซม. แต่ละช่อมีใบย่อยรูปรี ๆ แกมรูปไข่ ติดเรียงสลับ 7-9 ใบ ปลายสุดของช่อเป็นใบเดี่ยว ๆ ใบมีลักษณะเหนียวคล้ายแผ่นหนังบาง ๆ มีลักษณะรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ใบกว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-7 ซม. โคนใบมน แล้วค่อย ๆ เรียวสอบแหลมไปทางปลายใบ ปลายใบแหลมยื่นเล็กน้อย หลังใบมันสีเขียวเข้มกว่าด้านท้องใบ ใบเกลี้ยงไม่มีขนทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบ มี 6-8 คู่ พอสังเกตเห็นได้ทั้งสองด้านขอบใบเรียบ ดอก มีขนาดเล็ก สีขาว กลิ่นหอมอ่อน ๆ ทรงรูปดอกถั่ว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบใกล้ยอด กลีบฐานดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยตื้น ๆ ขอบหยักเป็น 5 แฉก กลีบคลุมมีลักษณะคล้ายโล่ กลีบปีกสองกลีบรูปขอบขนาน ส่วนกลีบกระโดงจะเชื่อมติดกัน มีลักษณะคล้ายรูปเรือหรือพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว เกสรผู้มี 10 อัน อันบนจะเป็นอิสระ นอกนั้นจะติดกันเป็นกลุ่ม รังไข่รูปรี ๆ ภายในมีช่องเดียว แต่มีไข่อ่อนหลายหน่วย หลอดท่อรังไข่มีหลอดเดียว จะยาวยื่นพ้นกลุ่มเกสรผู้ขึ้นมา ระยะเวลาออกดอก ประมาณเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ผล เป็นฝัก ผิวเกลี้ยง แบน และบอบบาง รูปขอบขนาน กว้าง 1.2 ซม. ยาว 4-6 ซม. ตรงบริเวณที่หุ้มเมล็ดมองเห็นเส้นแขนงไม่ชัดเจน ฝักจะแก่ประมาณ 2 เดือน หลังจากออกดอกซึ่งอยู่ระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน ฝักเมื่อแก่จะไม่แตกออกเหมือนฝักไม้แดงหรือฝักมะค่าโม่ง ฝักจะร่วงหล่นโดยที่เมล็ดอยู่ในฝัก เมล็ด รูปไต สีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลเข้ม ผิวค่อนข้างมัน กว้าง 4 ซม. ยาว 7 มม. เมล็ดจะเรียงตามยาวของฝัก ใน 1 ฝักจะมีเมล็ดจำนวน 1-4 เมล็ด
ประโยชน์ เนื้อไม้ใช้ก่อสร้าง ทำเครื่องเรือน แกะสลัก เปลือก ยางสดรักษาโรคปากเปื่อย รากลดพิษไข้
รูปภาพ
×
×
Qr Code และ Gr Code

หากคุณยังไม่มี App เหล่านี้สามารถดาวน์โหลด App ได้จากด้านล่างนี้

ดาวน์โหลด : เครื่องอ่านรหัส QR
ดาวน์โหลด : GR Code Reader
ดาวน์โหลด : VAJA สังเคราะห์เสียงไทย (วาจา)
ตำแหน่งของพรรณไม้ 20.081823,100.308600

Result Comments

Comments