ชื่อ เพกา
ชื่อพื้นเมือง มะลิดไม้ มะลิ้นไม้ ลิดไม้ (เหนือ) ลิ้นฟ้า (เลย) หมากลิ้นก้าง หมากลิ้นซ้าง (ฉาน-เหนือ) กาโด้โด้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ดอก๊ะ ด๊อกก๊ะ ดุแก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เบโก (มาเล-นราธิวาส)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Oroxylum indicum (L.) Kurz
ชื่อวงศ์ Bignoniaceae
ชื่อสามัญ Bignoniaceae
สรรพคุณ ราก มีรสฝาดขม เป็นยาบำรุงธาตุ เรียกน้ำย่อย เจริญอาหาร รักษาโรคท้องร่วง บิด โบราณเชื่อว่าถ้านำมาฝนกับน้ำปูนใสทาแผลที่อักเสบ ฟกช้ำ บวม จะทำให้หายเร็วขึ้น ฝักอ่อน นิยมกินเป็นผักแนม หรือนำมาแกงกะทิ ช่วยบำรุงธาตุ ขับเสมหะ บรรเทาอาการไอ ใบ ใช้ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดท้อง ขับลม บรรเทาอาการปวดไข้ และช่วยให้เจริญอาหาร เมล็ด เชื่อว่าใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย แก้ไอ ขับเสมหะได้ ยอดอ่อน นำไปต้ม ลวก หรือเอาไปเผาไฟอ่อนๆ แล้วค่อยเอามากิน ดอกเพกา ใช้ลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือกินกับลาบได้
ลักษณะ เพกาหรือลิ้นฟ้า เป็นไม้ต้น สูง 3-12 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ มีสีเทา แตกกิ่งก้านน้อย ลักษณะใบเพกา เป็นใบประกอบแบบขนนกสามชั้น ขนาดใหญ่ เรียงตรงข้ามรวมกันอยู่บริเวณปลายกิ่ง ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 4-8 ซม. ยาว 6-12 ซม. ดอกเพกา ดอกช่อจะออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอกย่อยขนาดใหญ่ มี 20-35 ดอก กลีบดอกสีนวลแกมเขียว โคนกลีบเป็นหลอดสีม่วงแดง หนาย่น บานกลางคืน ผลเพกา เป็นฝักแบนยาว รูปดาบ เมื่อแก่จะแตก ภายในมีเมล็ดแบนจำนวนมาก สีขาว มีปีกบางโปร่งแสง
ประโยชน์ ฝักอ่อนรับประทานเป็นผักโดยการลวกหรือเผา ดอกและยอดลวกจิ้มน้ำพริก เปลือกต้นปรุงรสลาบ รากแก้ท้องร่วง แก้อักเสบ แก้บิด เปลือกต้นบำรุงน้ำเหลือง ขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร แก้บิด ฝักแก้ร้อนในกระหายน้ำ บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาระบาย แก้ปวดท้อง เปลือกต้นเป็นสีย้อมผ้าฝ้ายให้เขียว
รูปภาพ
×
×
Qr Code และ Gr Code

หากคุณยังไม่มี App เหล่านี้สามารถดาวน์โหลด App ได้จากด้านล่างนี้

ดาวน์โหลด : เครื่องอ่านรหัส QR
ดาวน์โหลด : GR Code Reader
ดาวน์โหลด : VAJA สังเคราะห์เสียงไทย (วาจา)
ตำแหน่งของพรรณไม้ 20.081754,100.308790

Result Comments

Comments