ชื่อ มะขาม
ชื่อพื้นเมือง มะขาม , มะขามไทย ( ภาคกลาง ) , ตะลบ ( นครศรีธรรมราช ), ม่วงโคล้ง ( กาญจนบุรี )
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamarindus indica (L.)
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSSAE
ชื่อสามัญ LEGUMINOSSAE
สรรพคุณ เนื้อในฝักแก่แก้อาการท้องผูก แก้ไอ ขับเสมหะ เป็นยาระบาย เนื้อมะขามเปียกข้น ๆ ผสมเกลือ กินขับเลือดที่ตกค้างของหญิงหลังคลอด เมล็ดแก่คั่วสุกกะเทาะเปลือก แช่น้ำเกลือให้พอง กินเป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือนหรือบดเป็นผงละลายน้ำ ปิดแผลในคนเป็นโรคเบาหวาน ใบแก่เป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ ขับเลือดและลมในลำไส้ แก้โรคบิด เปลือกต้นต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้ท้องเดิน หรือใช้อมแก้เหงือกบวม แก้ฟันผุ
ลักษณะ ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ซึ่งต้นมะขามปัจจุบันที่ปลูกจะนิยมจากการตอนกิ่งหรือการเสียบยอด ทำให้ลำต้นมีขนาดเล็ก และมีความสูงน้อย ลำต้นทั่วไปจะแตกกิ่งปานกลาง มีทรงพุ่มค่อนข้างโปร่ง เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอมดำ มีร่องแตกตามแนวยาวของความสูงลำต้น ใบ มะขามเเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ชนิดใบประกอบแบบใบคู่ ที่มีใบย่อยออกเป็นคู่ๆบนก้านใบหลัก ประมาณ 10-20 คู่ โดยใบสุดท้ายจะเป็นใบคู่ แต่ละใบย่อยมีขนาดกว้างประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ใบมีสีเขียวสด แผ่นใบเรียบ เป็นมันเล็กน้อย ใบจะเริ่มร่วงประมาณเดือนธันวาคม และจะแตกใบใหม่ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ แทงออกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่ง จำนวนดอก/ช่อประมาณ 10-20 ดอก ดอกลักษณะสีเหลืองอมขาว โคนกลีบดอกมีประสีแดง ด้านในมีเกสรตัวผู้ 5 และรังไข่ที่ฐานดอก โดยจะแทงช่อดอกในช่วงเดือนพฤษภาคม และเก็บผลแก่ได้ประมาณเดือนพฤศจิกายนจนถึงมกราคม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ผล และเมล็ด มีลักษณะหลายแบบ อาทิ ฝักแบนโค้งงอเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว หรือ ฝักตรงดิ่ง เป็นต้น เปลือกฝักที่ยังดับมีสีเขียว เริ่มแก่หรือห่ามมีสีน้ำตาลซึ่งระยะนี้ เปลือกฝักจะยังติดอยู่กับเนื้อฝัก แกะแยกออกยาก และเมื่อสุกเต็มที่เปลือกจะยังมีสีน้ำตาลเหมือนเดิม แต่เนื้อจะแยกตัวออกจากฝัก เมื่อเคาะจะมีเสียงดังก้อง รู้สึกได้ว่ามีอากาศอยู่บริเวณเปลือกฝัก
ประโยชน์ ยอดอ่อน ดอก ผลประกอบอาหาร รับประทาน เนื้อไม้ใช้ทำเขียง เผาถ่านให้ถ่านคุณภาพดี เมล็ดแก่นำมาคั่ว แกะเปลือกออก ช้ำเกลือ กินเป็นยาถ่ายพยาธิ รากแก้ท้องร่วง เปลือกต้นแช่รวมกับยอดมันเทศดื่มแก้ท้องเสีย เปลือกเมล็ดพอกรักษาแผลสด ใบใช้ทำสีย้อมให้สีเหลือง หรือใช้เป็นตัวจับสีให้แน่น (Mordant )
รูปภาพ
×
×
Qr Code และ Gr Code

หากคุณยังไม่มี App เหล่านี้สามารถดาวน์โหลด App ได้จากด้านล่างนี้

ดาวน์โหลด : เครื่องอ่านรหัส QR
ดาวน์โหลด : GR Code Reader
ดาวน์โหลด : VAJA สังเคราะห์เสียงไทย (วาจา)
ตำแหน่งของพรรณไม้ 20.081735,100.308834

Result Comments

Comments