ชื่อ ยางนา
ชื่อพื้นเมือง ยางนา , ยางขาว , ยางหยวก , ยางแม่น้ำ , (ทั่วไป) ; กาตีล (เขมร, ปราจันบุรี); ยางนา (เลย)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dipterocapus alatus Roxb. ex G.Don
ชื่อวงศ์ Dipterocarpaceae
ชื่อสามัญ Dipterocarpaceae
สรรพคุณ เปลือกต้น รสฝาดเฝื่อนขม ต้มดื่มแก้ตับอักเสบ บำรุงร่างกายฟอกโลหิต ใช้ทาถูนวด แก้ ปวดตามข้อ เมล็ด ใบ รสฝาดร้อน ต้มใส่เกลืออมแก้ปวดฟัน ฟันโยกคลอน ใบและยาง รสฝาดขมร้อน รับประมานขับเลือด ตัดลูก(ทำให้เป็นหมัน) น้ำมันยาง รสร้อนเมาขื่น ทาแผลเน่าเปื่อย แผลมีหนอง แผลโรคเรื้อน รับประทานกล่อม เสมหะ ห้ามหนอง ใช้แอลกอฮอล์ 2 ส่วนกับน้ำมันยาง 1 ส่วน รับประทานขับปัสสาวะ รักษาแผลทางเดินปัสสาวะ แก้มุตกิดระดูขาว แก้โรคทางเดินปัสสาวะ จิบขับเสมหะ ผสม เมล็ดกุยช่ายคั่วให้เกรียม บดอุดฟันแก้ฟันผุ น้ำมันยางดิบ รสร้อนเมาขื่น ถ่ายหัวริดสีดวงทวารหนักให้ฝ่อ ถ่ายกามโรค ถ่ายพยาธิใน ลำไส้
ลักษณะ ยางนา เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูงถึง 40 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกค่อนข้างเรียบ สีเทาปนขาว โคนต้นมักเป็นพูพอน เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขน และมีรอยแผลใบเห็นชัด ใบยางนา เป็นใบเดี่ยว ติดเรียงเวียนสลับ ทรงใบรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 8-15 เซนติเมตร ยาว 20-35 เซนติเมตร โคนใบมนกว้าง ปลายใบสอบทู่ เนื้อใบหนา ใบอ่อนมีขนสีเทา ใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 3-4 เซนติเมตร มีขนประปราย ดอกยางนา สีชมพู ออกรวมกันเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบตอนปลาย กิ่งช่อหนึ่งมีหลายดอก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ส่วนปลายถ้วยแยกเป็น 5 แฉก ยาว 2 แฉก และสั้น 3 แฉก มีขนสั้นๆ สีน้ำตาลปกคลุม กลีบดอก มี 5 กลีบ โคนกลีบชิดกัน ส่วนปลายจะบิดเวียน ผลยางนา เป็นผลชนิดแห้ง รูปกระสวย มีครีบตามยาว 5 ครีบ มีปีกยาว 2 ปีก ขนาด 10-12 เซนติเมตร เส้นปีกตามยาวมี 3 เส้น
ประโยชน์ เนื้อไม้ในการก่อสร้าง
รูปภาพ
×
×
Qr Code และ Gr Code

หากคุณยังไม่มี App เหล่านี้สามารถดาวน์โหลด App ได้จากด้านล่างนี้

ดาวน์โหลด : เครื่องอ่านรหัส QR
ดาวน์โหลด : GR Code Reader
ดาวน์โหลด : VAJA สังเคราะห์เสียงไทย (วาจา)
ตำแหน่งของพรรณไม้ 20.081143,100.309717

Result Comments

Comments