ชื่อ สัตบรรณ
ชื่อพื้นเมือง จะบัน (เขมร-ปราจีนบุรี), ตีนเป็ด, ชบา, พญาสัตตบรรณ (กลาง),กะโน้ะ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ตีนเป็ดขาว (ยะลา), หัสบรรณ (กาญจนบุรี), ยาขาว(ลำปาง),บะซา, ปูลา, ปูแล (มาเลย์-ยะลา, ปัตตานี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia scholaris R.Br.
ชื่อวงศ์ APOCYNACEAE
ชื่อสามัญ APOCYNACEAE
สรรพคุณ นำใบ เปลือกต้น ดอก และยาง มาใช้เพื่อรักษาโรคและอาการต่างๆ ได้แก่ ช่วยเจริญอาหาร ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้อาการปวดหู แก้อาการปวดฟัน รักษาเลือดออกตามไรฟัน แก้โลหิตพิการ บำรุงกระเพาะ ขับน้ำเหลืองเสีย ขับระดูของสตรี ดับพิษต่างๆ แก้บิด รักษาผดผื่นคัน ช่วยให้แผลหายเร็ว เป็นต้น
ลักษณะ ต้นพญาสัตบรรณ มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถพบได้ในทุกภาคของประเทศไทย โดยจัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่ ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขาเป็นชั้น ๆ (เหมือนฉัตร) มีความสูงประมาณ 12-20 เมตร เปลือกต้นหนาเปราะ ผิวต้นมีสะเก็ดเล็ก ๆ สีขาวปนน้ำตาล เมื่อกรีดจะมียางสีขาว ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ นอกจากนี้ต้นพญาสัตบรรณยังจัดเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาครอีกด้วย ใบพญาสัตบรรณ ออกเป็นกลุ่มที่บริเวณปลายกิ่ง โดยหนึ่งช่อจะมีใบประมาณ 5-7 ใบ มีสีเขียวเข้ม ใบยาวรี ปลายใบมนโคนแหลม ขนาดของใบยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร ก้านใบสั้น เมื่อเด็ดออกจะมีน้ำยาวสีขาว ดอกพญาสัตบรรณ ออกดอกเป็นช่อคล้ายดอกเข็ม ออกดอกที่ปลายกิ่งหรือส่วนยอดของลำต้น หนึ่งช่อจะมีกลุ่มดอกประมาณ 7 กลุ่ม ดอกมีขาวอมเหลืองหรือเขียว มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ผลพญาสัตบรรณ ผลออกเป็นฝัก ลักษณะฝักยาว เป็นฝักคู่หรือฝักเดี่ยว ลักษณะเป็นเส้น ๆ กลมเรียว มีความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก มีขุยสีขาวสามารถปลิวไปตามลมได้ ส่วนในฝักจะมีเมล็ดเล็ก ๆ จำนวนมากลักษณะเป็นรูปขนานแบน ๆ ติดอยู่กับขุย
ประโยชน์ ใช้ก่อสร้างบ้านเรือน ไม้จิ้มฟัน เปลือกไม้แก้ไข้หวัด หลอดลมอักเสบ แก้บิด ขับน้ำนม ใบใช้พอกดับพิษต่างๆ รากเป็นยาขับลมในลำไส้ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
รูปภาพ
×
×
Qr Code และ Gr Code

หากคุณยังไม่มี App เหล่านี้สามารถดาวน์โหลด App ได้จากด้านล่างนี้

ดาวน์โหลด : เครื่องอ่านรหัส QR
ดาวน์โหลด : GR Code Reader
ดาวน์โหลด : VAJA สังเคราะห์เสียงไทย (วาจา)
ตำแหน่งของพรรณไม้ 20.079317,100.307742

Result Comments

Comments