ชื่อ หางนกยูงฝรั่ง
ชื่อพื้นเมือง นกยูงฝรั่ง อินทรี (ภาคกลาง), หงอนยูง (ภาคใต้),นกยูง นกยูงฝรั่ง ชมพอหลวง ส้มพอหลวง (ภาคเหนือ),ยูงทอง (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Delonix regia (Bojer ex Hook.) Raf.
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE-CAESALPINOIDEAE
ชื่อสามัญ LEGUMINOSAE-CAESALPINOIDEAE
สรรพคุณ ต้นหางนกยูงฝรั่ง สรรพคุณรากใช้เป็นยาขับโลหิตสตรี (ราก) หางนกยูงฝรั่งรากช่วยแก้อาการบวมต่าง ๆ (ราก) ต้นหางนกยูงฝรั่ง สรรพคุณของลำต้นนำมาฝนใช้ทาแก้พิษ ถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ (ลำต้น)
ลักษณะ ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 5-12 ม. ขนาดทรงพุ่ม 5-8 ม. ผลัดใบ ทรงพุ่มค่อนข้างกลม แน่นทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา เมื่อต้นโตขึ้น เปลือกจะแตกเป็นร่องหรือเป็นสะเก็ด ใบ ใบประกอบรูปนิ้วมือ เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ก้านใบรวมยาว 5-16 ซม. มีขนสั้นนุ่ม ก้านใบย่อย ยาว 1-3 ซม. มีขน มีใบย่อย 5 ใบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 1.5-11 ซม. ยาว 2.5-18 ซม. ปลายใบเรียวแหลมเป็นติ่ง โคนใบมนหรือเป็นรูปไต ขอบใบเป็นคลื่นหรือจักเป็นซี่แผ่นใบบางแต่ค่อนข้างเหนียว และย่นเป็นลอน สีเขียว ผิวใบด้านล่างมีขนนุ่มสีน้ำตาล ดอก สีเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแยกแขนงที่ปลายกิ่ง 3-10 ดอก ดอกรูปแตร กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 แฉก มีขนสีน้ำตาลโคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว 4-7 ซม. ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกบางยับย่น เกสรเพศผู้ 4 อัน เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 3-4 ซม. ออกดอกเดือน มี.ค.-เม.ย ผล ไม่ติดผล ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง
ประโยชน์ เมล็ดแก่นำมาต้มแกะเปลือกนอกออก ส่วนที่เป็นวุ้นสีขาวต้มน้ำตาลราดกะทิเป็นอาหารหวาน เปลือกต้นเป็นยาแก้ไข้ ปลุกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ให้ร่มเงา
รูปภาพ
×
×
Qr Code และ Gr Code

หากคุณยังไม่มี App เหล่านี้สามารถดาวน์โหลด App ได้จากด้านล่างนี้

ดาวน์โหลด : เครื่องอ่านรหัส QR
ดาวน์โหลด : GR Code Reader
ดาวน์โหลด : VAJA สังเคราะห์เสียงไทย (วาจา)
ตำแหน่งของพรรณไม้ 20.080214,100.307322

Result Comments

Comments