ชื่อ มะค่าโมง
ชื่อพื้นเมือง มะค่าใหญ่ มะค่าโมง (ภาคกลาง) มะค่าหลวง มะค่าหัวคำ (ภาคเหนือ) เขง เบง (สุรินทร์) บิง (จันทบุรี) ปิ้น มะค่าโมง (นครราชสีมา)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Afzelia xylocarpa (Kurz) Craib
ชื่อวงศ์ Leguminosae-Caesalpiniaceae
ชื่อสามัญ Leguminosae-Caesalpiniaceae
สรรพคุณ เปลือกใช้ต้มแก้ซาง แก้ลิ้นเป็นฝ้า (เปลือก) ปุ่มที่เปลือกมีรสเมาเบื่อ ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้พยาธิ ส่วนเมล็ดมีรสเมาเบื่อสุขุมเป็นยาขับพยาธิเชนกัน (ปุ่มเปลือก,เมล็ด) ปุ่มที่เปลือกนำมาต้มรมให้หัวริดสีดวงทวารหนักฝ่อได้ (ปุ่มเปลือก, ผล) ส่วนเมล็ดมีรสเบื่อขม มีสรรพคุณทำให้ริดสีดวงทวารแห้ง (เมล็ด) เปลือกต้นมะค่าแต้ใช้ผสมกับเปลือกต้นมะกอกเหลี่ยม เปลือกต้นหนามทัน เปลือกต้นยางยา และรากถั่วแปบช้าง นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อีสุกอีใส (เปลือกต้น) ใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง (ผล,ปุ่มเปลือก,เมล็ด)
ลักษณะ ต้นมะค่าแต้ มีเขตการกระจายพันธุ์จากภูมิภาคอินโดจีนจนถึงมาเลเซีย ในประเทศไทยสามารถพบได้ตามป่าป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณแล้ง ป่าโคกข่าว ป่าผลัดใบ ป่าดิบแล้ง และป่าชายหากที่ระดับใกล้กับน้ำทะเลไปจนถึงที่ระดับความสูง 400 เมตร[2]โดยจัดเป็นไม้ยืนต้น มีความสูงของต้นประมาณ 10-15 เมตร แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง มีเรือนยอดเป็นรูปร่มหรือเป็นทรงเจดีย์ต่ำ กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาล เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทาคล้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง ใบมะค่าแต้ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 3-4 ใบ แกนช่อใบยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปไข่ ปลายใบเว้าตื้น โคนใบเป็นรูปลิ่ม ส่วนขอบใบเป็นคลื่น ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-15 เซนติเมตร แผ่นใบหนา แผ่นใบด้านบนมีขนหยาบ ส่วนด้านท้องใบมีขนนุ่ม ดอกมะค่าแต้ ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบหรือตามปลายกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร ดอกเป็นสีเหลืองแกมเขียว มีกลีบเลี้ยงหนา 4 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่กว้าง ปลายกลีบมีหนามขนาดเล็ก ส่วนกลีบดอกยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน และมี 2 อันใหญ่กว่าอันอื่น ๆ ด้านนอกดอกมีขนสีน้ำตาล ก้านดอกยาวประมาณ 0.2-0.4 เซนติเมตร โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ผลมะค่าแต้ ออกผลเป็นฝักเดี่ยวแบนค่อนข้างกลม ที่ผิวเปลือกมีหนามแหลมอยู่ทั่วไป ผลเป็นรูปไข่กว้างหรือเป็นรูปโล่ โคนเบี้ยวและมักมีติ่งแหลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4.5-10 เซนติเมตร พอแห้งจะแจกออกเป็น 2 ซีก ภายในมีเมล็ดสีดำประมาณ 1-3 เมล็ด โดยผลจะแก่ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน
ประโยชน์ เมล็ดมะค่าอ่อนรับประทานได้ ไม้มะค่าใช้สร้างสิ่งปลูกสร้าง ทำเครื่องเรือน เมล็ดขับพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง จุกของเมล็ดฝนละลายน้ำดื่มแก้ผิด (อาหารเป็นพิษ) พวกเนื้อสัตว์ ถ้ากินผิดพวกเห็ดให้ฝนผสมกับน้ำผึ้งฝนทารักษาโรคผิวหนัง
รูปภาพ
×
×
Qr Code และ Gr Code

หากคุณยังไม่มี App เหล่านี้สามารถดาวน์โหลด App ได้จากด้านล่างนี้

ดาวน์โหลด : เครื่องอ่านรหัส QR
ดาวน์โหลด : GR Code Reader
ดาวน์โหลด : VAJA สังเคราะห์เสียงไทย (วาจา)
ตำแหน่งของพรรณไม้ 20.079929,100.308325

Result Comments

Comments